สำหรับการควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับด้วย INVERTER นั้น หลายๆคนยังไม่เข้าใจหลักการควบคุมที่ถูกต้องตามหลักการทำงานของ INVERTER โดยที่แท้จริงนั้นมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีการปรับเปลี่ยนความเร็วได้ เกิดมาจากการปรับความถี่ของกระแสไฟฟ้า ที่ออกมาจาก INVERTER
อธิบายบายให้เข้าใจอย่างง่าย นั้นก็คือเมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ INVERTER ที่เป็นไฟจากแหล่งจ่ายจากการไฟฟ้า จะเป็นกระแสไฟที่มีความถี่ 50HZ ตามมาตรฐานของระบบไฟฟ้าในประเทศไทย จากนั้น INVERTER จะทำการปรับเปลี่ยนค่าความถี่ตามที่เราต้องการ โดยจ่ายออกมาทางด้าน OUTPUT เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าต่อให้กับมอเตอร์
ตามหลักการของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ เมื่อเราทำการเปลี่ยนแปลงความถี่ ความเร็วของมอเตอร์ก็จะเปลี่ยนแปลงแบบแปรผันตรงตามความถี่ เช่น ถ้าความถี่สูงความเร็วมอเตอร์ก็สูง ความถี่ต่ำความเร็วมอเตอร์ก็ต่ำ แต่การที่ INVERTER จะสามารถเปลี่ยนความถี่ของกระแสไฟฟ้าได้ นั้นเกิดมาจากการที่เราโปรแกรมควบคุมหรือมีสัญญาณสั่งงานให้กับตัวอินเวอเตอร์ โดยสัญญาณอีกหนึ่งประเภทที่นิยมใช้ในการควบคุมการปรับความถี่ของอินเวอเตอร์นั้นก็คือสัญญาณอะนาล็อค (Analog)
สัญญาณอะนาล็อคที่นิยมใช้อุตสาหกรรมจะมี 2 ชนิด คือสัญญาณอะนาล็อคที่เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 0-10V และ สัญญาณอะนาล็อคที่เป็นกระแสตรง 4-20mA คำว่าสัญญาณอะนาล็อค คือสัญญาณต่อเนื่องไม่ขาดหาย เพียงแต่จะมีการปรับให้มากหรือน้อยอยู่ที่ความต้องการ โดยสัญญาณอะนาล็อคนี้จะถูกต่อเข้าไปที่ช่อง INPUT ของ INVERTER เพื่อใช้เป็นคำสั่งในการให้ INVERTER ปรับความถี่
โดยปกติแล้วจะมีขั้นตอนการโปรแกรมพารามิเตอร์ของ INVERTER เพื่อกำหนดค่าความถี่หรือการทำสเกล เช่น ถ้าสัญญาณเข้ามา 7V ให้ INVERTER ปรับความถี่เป็น 20HZ เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องไปทำการเรียนรู้วิธีการแก้ไขและปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ต่อไป