ที่มาของการสร้างหลักสูตร
ในปัจจุบันระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม และยังสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ได้กับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอื่นๆ ที่มีความต้องการใช้งาน แต่ปัญหาส่วนหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือองค์ความรู้ที่มีความหลากหลายในการพัฒนาหรือออกแบบระบบ ควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ผลิต ติดตั้งงานระบบ หรือที่เรียกกันว่า System Integrator (SI) หากไม่มีความรู้ที่รอบด้านและหลากหลาย จะส่งผลต่อการทำงานและนำมาสู่ความเสียหายทั้งตัวเงิน และเวลา ซึ่งในการทำงานระบบต้อง อาศัยประสบการณ์ในการวิเคราะห์ ออกแบบ เพื่อเลือกใช้อุปกรณ์หรือวิธีการที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับ การลงทุน ตลอดจนการออกแบบที่รัดกุม มีความปลอดภัย และใช้มาตรฐานการทำงาน ที่เป็นที่ยอมรับ สำหรับ ประเทศไทยนั้น หลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะด้านงานระบบให้กับ SI มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการ จัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการสร้าง SI ที่มีความพร้อม ทั้งด้านคุณภาพการทำงานและองค์ความรู้ในการออกแบบที่รอบด้าน
สำหรับการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ มีสัดส่วนการฝึก ภาคทฤษฎีการบรรยาย ร้อยละ 20 ภาคทดลองและปฏิบัติ ร้อยละ 80 โดยจะมีการบรรยาย 1 ชั่วโมงก่อนการปฎิบัติ เน้นการฝึกอบรม พัฒนา ทักษะฝีมือในการประกอบและวายริ่งตู้ควบคุมไฟฟ้า โดยผู้ฝึกจะต้องผ่านการฝึกและทดสอบโดยมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่า 70% และรับการประเมิน โดยหลักสูตรนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 วัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
สำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ เป็นเพียงส่วนงานหนึ่งของหลักสูตรเต็มทั้งหมด 15 วัน ของหลักสูตร Robotics & Automation System Integrator ‘s Skills (RASI) เพื่อฝึกอบรมพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ในระดับ Field Level ที่เป็น ระดับแรกของงานระบบควบคุมอัตโนมัติตาม ISA-95 ให้ผู้ฝึกอบรมมีความชำนาญ และการทำงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ตลอดจน สามารถประกอบ วายริ่ง ติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับงานควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ตามแบบไฟฟ้าหรือแบบปฏิบัติงาน (Shop Drawing) ที่จัดเตรียมไว้ให้ ตลอดจนสามารถตรวจสอบความถูกต้องของงานติดตั้ง งานวายริ่ง งานเดินสายไฟ งานเข้าสายตู้ควบคุมไฟฟ้าและควบคุม งานให้ป็นไปตามมาตรฐานที่ระบบไว้ในแบบ (Machine Specification & Requirement) พร้อมกับการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ FA เบื้องต้นเพื่อ เป็นการเตรียมประสบการณ์ สร้างความเข้าใจพื้นฐานก่อนที่ผู้ฝึกจะไปเรียนรู้ผลิตภัณฑ์เชิงลึกต่อไปในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สิทธิประโยชน์ :
– อาหารว่างและอาหารกลางวัน
– วัสดุฝึกสิ้นเปลือง
– เอกสารการฝึก แบบไฟฟ้าและคู่มือประจำหลักสูตร
– เสื้อโปโล 1 ตัว
– เครื่องมือช่าง 5 ชิ้นพร้อมกระเป๋าเครื่องมือช่าง
– ใบประกาศนียบัตร
วัตถุประสงค์หลักสูตร :
ใช้ในการประเมินความรู้ความสามารถ และคัดแยกระดับความสามารถของผู้ฝึกอบรม เพื่อปรับความรู้พื้นฐานและฝึกการใช้เครื่องมือช่างที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานการตรวจนับและเช็คความถูกต้องของอุปกรณ์ พร้อมทั้งปรับเทคนิคการอ่านแบบสำหรับการวางผังและประกอบอุปกรณ์ และการฝึกการอ่านแบบไฟฟ้าขั้นเริ่มต้น ซึ่งถือว่าเป็น การเริ่มต้นของการฝึกปฏิบัติการ ตามหลักสูตรประกอบและวายริ่งตู้ควบคุมไฟฟ้า ที่ผู้ฝึกปฏิบัติการต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกในระดับถัดไป
รายละเอียดการฝึกปฏิบัติ :
1. รับฟังบรรยายภาคความรู้การประกอบและวายร่ิ่งตู้ควบคุมไฟฟ้า
2. ฝึกการตรวจรับอุปกรณ์ตามรายการ BOQ
3. ฝึกการอ่าน Schedule Plan สำหรับการควบคุมการปฏิบัติงาน
4. ฝึกการใช้เครื่องมือช่างที่เกี่ยวข้องกับและใช้งานในหลักสูตร
5. ฝึกการย้ำหางปลาและเข้าสายตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ, JIS และ DIN
6. ฝึกการอ่านแบบสำหรับงานประกอบ (Layout Panel)
7. ฝึกการตรวจสอบคุณภาพสำหรับงานประกอบตู้ควบคุมไฟฟ้า
8. ฝึกการอ่านแบบและเทคนิคการอ่านแบบเพื่อวางแผนงาน
คุณสมบัติผู้รับการฝึกอบรม :
1. ชาย-หญิง อายุ 18 ปี ขึ้นไป
2. วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า
3. มีความรู้พื้นฐานทางด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ มีประสบการณ์หรือประกอบอาชีพ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น ช่างเทคนิคไฟฟ้า ช่างซ่อมบำรุง ช่างติดตั้ง โปรแกรมเมอร์ วิศวกรออกแบบเครื่องจักรกล หุ่นยนต์ และระบบควบคุมอัตโนมัติ
สิทธิประโยชน์ :
– อาหารว่างและอาหารกลางวัน
– วัสดุฝึกสิ้นเปลือง
– เอกสารการฝึก แบบไฟฟ้าและคู่มือประจำหลักสูตร
วัตถุประสงค์หลักสูตร :
ให้ผู้ฝึกปฏิบัติการมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมทีม และเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ในการทำงาน ผ่านการฝึกปฏิบัติการวายริ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกได้เรียนรู้เทคนิค การทำงานและการตรวจสอบคุณภาพของตู้ควบคุมไฟฟ้าสำหรับระบบควบคุมอัตโนมัติ ตลอดจนมีความสามารถในการทำงานตามขั้นตอนคุณภาพ และการทำงานภายใต้ขอบเขต เงื่อนไข และข้อกำหนดต่าง ๆ และถือเป็นการสร้างเสริมลักษณะนิสัยของการเป็นช่างหรือวิศวกรที่มีคุณภาพ
รายละเอียดการฝึกปฏิบัติ :
1. รับฟังบรรยายภาคความรู้เทคนิคการติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับงาน Automaiton
2. ฝึกปฏิบัติการประกอบตู้ควบคุมไฟฟ้า (Assembly)
3. ฝึกปฏิบัติการขั้นตอนคุณภาพ (การประชุมเพื่อวางแผนงานและกำลังคน)
4. ฝึกการใช้งานเครื่องมือวัดเบื้องต้น
5. ฝึกปฏิบัติการวายริ่งตู้ควบคุมไฟฟ้า (Wiring) ด้วยเทคนิคญี่ปุ่น
6. เทคนิคการตรวจสอบคุณภาพของงานวายริ่ง ส่วนวงจรกำลัง (Power Circuit)
7. เทคนิคการตรวจสอบคุณภาพของงานวายริ่ง ส่วนวงจรควบคุม (Control Circuit)
8. ฝึกปฏิบัติการขั้นตอนคุณภาพ (การสรุปงานประจำวัน)
สิทธิประโยชน์ :
– อาหารว่างและอาหารกลางวัน
– วัสดุฝึกสิ้นเปลือง
– เอกสารการฝึก แบบไฟฟ้าและคู่มือประจำหลักสูตร
วัตถุประสงค์หลักสูตร :
ให้ผู้ฝึกมีความเข้าใจในการอ่านแบบไฟฟ้าสำหรับการเชื่อมต่อสายสัญญาณ และการเลือกใช้สายไฟให้เหมาะกับประเภทอุปกรณ์หรือโหลดต่าง ๆ ทั้งใน ส่วนของวงจรกำลังและควบคุม สามารถเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับงานติดตั้ง ร้อยสาย และทำการปฏิบัติการเชื่อมต่อสายไฟและสายสัญญาณ (Interface Cable) ได้อย่างถูกต้องและชำนาญ ตลอดจนมีความามารถในการอ่านแบบไฟฟ้าสำหรับงานวางผังตู้และงานติดตั้งได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดการฝึกปฏิบัติ :
1. รับฟังบรรยายภาคความรู้มาตรฐาน ข้อกำหนดทางวิศวกรรม
2. ฝึกปฏิบัติการและเรียนรู้เทคนิคการประกอบและใช้งานท่อร้อยสาย
3. ฝึกการเข้าหัวสายแบบคอนเน็คเตอร์
4. ฝึกการอ่านแบบแผนผังงานติดตั้งและการเชื่อมต่อสัญญาณ
5. ฝึกการติดตั้ง เดินสายและการร้อยสายสัญญาณต่าง ๆ ของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า
6. ฝึกการติดตั้ง เดินสายและการร้อยสายสัญญาณต่าง ๆ ของอุปกรณ์ในระบบลม
7. ฝึกการติดตั้ง เดินสายและการร้อยสายสัญญาณระบบสื่อสาร Ethernet / IP Camera
8. ฝึกปฏิบัติการทำป้ายกำกับ ป้ายชื่อ และลาเบลตามมาตรฐานความปลอดภัย
สิทธิประโยชน์ :
– อาหารว่างและอาหารกลางวัน
– วัสดุฝึกสิ้นเปลือง
– เอกสารการฝึก แบบไฟฟ้าและคู่มือประจำหลักสูตร
วัตถุประสงค์หลักสูตร :
ให้ผู้ฝึกมีความเข้าใจในการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งบนตัวเครื่องจักรกล เรียนรู้หลักการและขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ การตรวจสอบความถูกต้อง หลังจากการติดตั้งและวายริ่ง ก่อนการจ่ายไฟเข้าระบบเพื่อทดสอบ สามารถทำการทดสอบระบบ I/O PLC ด้วยวิธีการมอนิเตอร์ผ่านซอร์ฟแวร์ของ PLC และการใช้เครื่องมือวัดสัญญาณ ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ในการเขียนแบบหรือออกแบบระบบไฟฟ้าสำหรับงานควบคุมอัตโนมัติได้
รายละเอียดการฝึกปฏิบัติ :
1. รับฟังบรรยายภาคความรู้การทดสอบและตรวจสอบคุณภาพ
2. ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพ (Tightening Test)
3. ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพ (Short Circuit Test)
4. ฝึกปฏิบัติการขั้นตอนคุณภาพ (ขั้นตอนการจ่ายระบบไฟฟ้าเข้าระบบ)
5. ฝึกปฏิบัติการขั้นตอนคุณภาพ (การทดสอบ I/O อุปกรณ์ FA)
6. เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้งานอุปกรณ์ VPN Remote Access Router
7. เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้งานซอร์ฟแวร์ของอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ FA*
8. ฝึกปฏิบัติการขั้นตอนคุณภาพ (การทดสอบระบบด้วยโปรแกรมสำหรับทดสอบ)
9. ฝึกปฏิบัติการและเรียนรู้ความสัมพันธ์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ (Device Action)
10. ฝึกปฏิบัติการขั้นตอนคุณภาพ (การสรุปงานประจำวัน)