บทความเรื่อง : มาตรฐาน JFAC สำหรับการปฏิบัติงานคุณภาพ
ศูนย์ฝึกอบรมเจแฟค ได้เล็งเห็นความสำคัญของการปฏัติงานคุณภาพ โดยเฉพาะงานด้านระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ถือเป็นสาขาวิศวกรรมที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มสาขาวิศวกรรมควบคุม ดังนั้นจึงทำให้มีทั้งข้อดีและข้อเสียในการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน ไปสู่การสร้างมาตรฐานเพื่อคุณภาพ ตัวอย่าง เช่น
ข้อดี : เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดวิธีการทำงานใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้เทคนิคการปฏิบัติงานที่หลากหลาย สร้างโอกาสในการลองผิดลองถูก ได้พบกรณีศึกษาใหม่ ๆ ซึ่งถือเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปสู่การสร้างมาตรฐาน
ข้อเสีย : จากความหลากหลายในวิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในเหตุผลข้างต้น จึงทำให้เกิดความสับสนของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีแนวทางและหลักปฏิบัติของตัวเอง เกิดรูปแบบที่แตกต่าง ๆ กันไป ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ เพิ่มความยุ่งยากในการปรับตัวเพื่อให้เข้าใจต่อหลักเกณฑ์ของแต่ละสถานที่ และการฝึกพัฒนาบุคลากรเป็นอย่างยิ่ง
ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี ที่ศูนย์ฝึกอบรมเจแฟค ได้รับรู้ รับทราบ และได้รับข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรม ผ่านการฝึกอบรมพัฒนาให้กับบุคลากรจากภาคอุตสาหกรรมมากว่า 300 แห่ง และได้อาศัยข้อมูลมาตรฐานวิศวกรรมจากต่างประเทศ และหน่วยงานรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ตลอดตนได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมจากการนำกรณีศึกษาจริงกว่า 1,000 กรณี มาสร้างเป็นเทคนิคการปฏิบัติงาน และโอกาสนี้จึงได้ทำการรวบรวมขึ้นเป็นมาตรฐานวิศวกรรมของ JFAC เพื่อให้เป็นแนวทางให้ผู้สนใจไว้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การผลิตงานคุณภาพ โดยได้ออกมาตรฐาน JFAC ในปีปัจจุบันนี้จำนวน 3 มาตรฐาน ดังนี้
- มาตรฐานการประกอบและวายริ่งตู้ควบคุมไฟฟ้า
(Assembly And Wiring Control Panel Standard)
Standard No : JFAC O2600 : 2020
ได้จัดทำเป็นรูปแบบคู่มือปฏิบัติงานคุณภาพ ที่ประกอบไปด้วยชุดคู่มือจำนวน 5 เล่ม ที่มุ่งเน้นมาตรฐานสำหรับการประกอบและผลิตตู้ควบคุมไฟฟ้า ประเภทกลุ่มตู้ควบคุมระบบอัตโนมัติที่มีชุดควบคุมแบบโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์
- มาตรฐานการตรวจสอบเครื่องจักรกลและระบบควบคุมอัตโนมัติ ประเภทเครื่องจักรออกแบบใหม่
(Machine And FA System Inspection Standard for New Design )
Standard No : JFAC S1050 : 2020
เป็นแบบฟอร์มเพื่อการตรวจสอบคุณภาพ ที่ให้รายละเอียดในหัวข้อต่าง ๆ ทั้งทางไฟฟ้า เครื่องกล ระบบป้องกัน และอื่น ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินและการตรวจสอบตามมารตฐานสากลของประเทศหรือกลุ่มประเทศต่าง ๆ เช่น ISO / IEC / JIS / DIN / UL / EIT / TIS / TR / TC เป็นต้น
- มาตรฐานการเขียนแบบไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
(Schematic Diagram for FA Machinery Standard)
Standard No : JFAC D4300 : 2021
เป็นรูปแบบการเขียนแบบไฟฟ้า (Schematic Diagram) ที่ใช้สำหรับเขียนแบบเครื่องจักรกลและระบบควบคุมอัตโนมัติ ที่มีรายละเอียดองค์ประกอบของแบบไฟฟ้าเพื่อมุ่งเน้นการนำไปใช้เพื่อการผลิตเชิงคุณภาพ และการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ